วันนี้เป็นอีกวันที่ต้องตื่นก่อนพระอาทิตย์เพราะต้องไปให้ถึงถนนแถวบริเวณหน้าวัดแสนก่อนที่จะสว่างพอเห็นลายมือตัวเองซึ่งเป็นเวลาที่กำหนดที่พระ จะเริ่มออกบิณบาตร ข้าวเหนียวกระติบน้อยๆที่ร้านอาหารค่ำเมื่อคืนเตรียมพร้อมเรียบร้อยเมื่อเราไปถึง ดูเวลาก็6 โมงเช้าพอดิบพอดีเมื่อเราไปถึงบริเวณหน้าโรงแรมพูสี มองเห็นขบวน ทั้งพระและเณรตั้ง เป็นแถวยาวราวสามร้อยร้อยรูป ทำให้ถนนเต็มไปด้วยสีเหลืองของจีวร พวกเราจึงต้องรีบไปหาที่ว่างเพื่อตั้งแถวกันเป็นยกใหญ่ เมื่อแถวเสร็จก็จะมีแม่ค้า มาเร่ขายขนมและ ดอกไม้สำหรับใส่บาตรกันยกใหญ่  สังเกตุการแต่งกาย ผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น และใส่สไบเฉียง เวลาใส่บาตรก็จะถอดรองเท้า นั่งคุกเค่า ส่วนผู้ชายจะใส่สไบเฉียงเช่นกัน แต่จะยืน ถอดรองเท้า เวลาใส่บาตรก็จะใส่แต่ข้าวเหนียวเพียงหยิบมือเดียว ส่วนกับข้าวนั้นเขาจะตามกันไปใส่ที่วัด ข้างๆผู้หญิงบางคนจะเปิดฝากระติบข้าวเหนียววางไว้ให้พระบางรูป ทิ้งขนมลงไป ไม่รู้เหตุผลเหมือนกันว่าทำไม  การใส่บาตรในเช้านี้กว่าจะหมดแถวถึงรูปสุดท้าย ก็ใช้เวลากว่าครึ่งชั่วโมง 

               

                            หลังจากอิ่มบุญกันทั่วหน้าก็ได้เวลาไปสำรวจตลาดเช้าที่มี่ชื่อว่า "ตะลาดโพสิ" เป็นตลาดสด เหมือนบ้านเรา มีขายทั้งเนื้อ และผัก หมูหัน แป้งจี่ และสาหร่ายดำ หรือไคน้ำจืด ก็สามารถซื้อหาได้ที่นี่ มีสิ่งหนึ่งที่สดุดตามากคือข้าวเกรียบซึ่งใส่เป็นถุงๆ มีทั้งสีเขียว สีบานเย็น และสีเหลืองแต่ละสีล้วนสดๆแสบๆทั้งนั้น    เมื่อได้เวลาอันควรท้อง ก็เริ่มส่งเสียงร้องหาอาหาร   อาหารสำหรับเช้านี้เราต้องลองอาหารดังของลาวที่คนทั่วไปกล่าวถึงให้ได้สักหน่อย ดังนั้นเราจึงไปกันแถวบริเวณวัดมโนลมซึ่งบริเวณ ฝั่งตรงข้ามจะเป็นตลาด บริเวณสี่แยกบริเวณหัวมุมถนนจะมีแผงลอยขายข้าวจี่ดูน่ากิน ฝั่งตรงข้ามอีกด้านหนึ่งมีร้านอาหารเล็กๆอยู่หลายร้านตั้งอยู่ มีอาหารให้เลือกหลายอย่างทั้งข้าวจี่ เฝอ เปาะเปี์ยะลาว กาแฟลาว ซึ่งล้วนแต่น่ากิน ดังนั้นจะรอช้ากันทำไม เข้าไปสั่ง ข้าวจี่ เปาะเปี์ยะ เฝอ และ  กาแฟดำ ด้วยความหิว 

สูตรข้าวจี่  : ขนมปังฝรั่งเศสท่อนยาวๆ ผ่าตรงกลาง  แล้วใส่ด้วยหมูยอ  แฮมหั่นเป็นเส้นยาวๆ แต่งด้วย แตงกวา มะเขือเทศ แล้วราดด้วย ซอสพริก โรยด้วยพริกไทย หั่นเป็นชิ้น พอคำ 

สูตรกาแฟดำ : กาแฟลาว  1 บ่วง  ตักใส่ถุงชงกาแฟ เทใส่จอก ใส่นมข้นหวาน 3-4 บ่วง รสชาดเข้มข้น 

        

                  เมื่อท้องอิ่มแรงก็มา สมกับคำว่ากองทัพต้องเดินด้วยท้อง ไม่รอช้าเดินกันไปประมาณ 150 เมตร ก็ถึงวัดวิชุน ที่มีเจดีย์หมากโมอันเลื่องชื่อ ภายในมีรูปวาดประวัติพระพุทธเจ้า และมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ซึ่งต้องเสียค่าเข้าชม บริเวณฝั่งตรงข้ามจะมีเจดีย์หมากโมซึ่งมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับแตงโมหั่นครึ่งคว่ำลง หลังจากชมความงามกันพอสมควร พูสีคือเป้าหมายต่อไป 

                                                                                             

                         เดินออกจากวัดวิชุนไปประมาณ 100 เมตรได้ ก็เห็นทางขึ้นซึ่งเป็นทางขึ้นทางด้านหลังถ้าไม่สังเกตุหรือถามชาวบ้านแถวนั้นก็คงไม่รู้ว่าทางนี้ขึ้นพูสีได้ เดินขึ้นไปสักพัก ทางชันพอควรทำให้บางคนถึงกับเหงื่อซึม เลยหยุดพักนมัสการพระสังกระจาย เดินขึ้นไปนิดหน่อยจะมีพระนอนองค์ยาวพอควรประดิษฐานอยู่ ตรงบริเวณนี้เองจะมีทางแยกไปชมรอยพระพุทธบาท   เมื่อใกล้ถึงยอดพูสีจะมีด่านเก็บค่าผ่าน ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นคนละ 8000 กีบ เดินขึ้นไปเพียงเล็กน้อยจะเห็นโบสถ์หลังเล็กๆ ตั้งอยู่หนึ่งหลัง ภายในมีพระพุทธรูป และเซียมซีไว้บริการ แต่ใบเซียมซีเป็นภาษาลาวต้องตีความกันเอาเอง ด้านหลังจะเป็นเจดีย์สีทององค์ขนาดกลางตั้งอยู่ เมื่อมองลงจาก ด้านบนสามารถมองเห็น ทิวทัศน์ของเมืองหลวงพะบางได้โดยรอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะสามารถมองเห็น บริเวณที่แม่น้ำคานไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขง  อิ่มเอมกับความงามของทิวทัศน์เมืองหลวงพะบางพอควร กับเซียมซีหนึ่งใบซึ่งอ่านแล้วก็ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไร ก็ได้เวลาลงจากพูสี เพื่อไปยังจุดมุ่งหมายต่อไป ด้านหน้ามีบันได 328 ขั้น ไม่เป็นอุปสรรคสำหรับเรา เพราะเป็นขาลง ......

                        

                          ฝั่งตรงข้ามทางลงพูสีเป็นพิพิธภัณฑ์  โดยจะเปิดให้เข้าชมในตอนเช้าเวลา 8.00-11.00  และบ่ายเวลา 13.00-15.00 เมื่อเข้าไปในบริเวณพิพิธภัณฑ์ ทางด้านซ้ายมือจะมีอนุสาวรีย์ของเจ้าชีวิตศรีมหาวงศ์ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายก่อนเปลี่ยนการปกครอง  ส่วนทางด้านขวามือจะเป็นอุโบสถหลังงาม  ด้านหน้าวังเก่าของเจ้าชีวิตศรีมหาวงศ์ ภายในวังจะไม่อนุญาติให้ถ่ายรูป โดยภายในจะเป็นห้องนอน ห้องรับแขก และทรัพย์สมบัติของศรีมหาวงศ์  โดยห้องหนึ่งของวังทางด้านข้างจะเป็นที่ประดิษฐานของพะบาง ซึ่งโดยประวัติแล้วไทยเราเคยอัญเชิญพะบางมาประดิษฐานในประเทศไทยสองครั้งแต่ก็มีเหตุให้ต้องส่งคืนให้กับลาวไปทั้งสองครั้งสองครา โดยชื่อเมืองหลวงพะบางนั้น ก็มาจากคำว่า "เมืองหลวง" ผนวกกับ "พะบาง" เป็นเมืองหลวงพะบางในปัจจุบัน  

          

 

                  เวลา 11.00 น. เราก็ต้องออกจากพิพิธภัณฑ์เพราะเป็นเวลาปิดพักทานข้าว จะเปิดให้เข้าชมอีกทีก็เวลา 13.00  น. จุดมุ่งหมายถัดไปของเราก็คือถ้ำติ่ง ซึ่งเราต้องไปลงเรือกัน ที่ท่าเรือหน้าวัดเชียงทอง  เรือเป็นเรือขนาดกลาง แต่ยาว มีหลังคา แต่สภาพค่อนข้างเก่า มีที่นั่งเล็กๆประมาณ 20 คน  เวลาวิ่งจะเสียงดังมาก  การไปถ้ำติ่งเราต้องวิ่งทวนน้ำขึ้นไป แม่น้ำโขงยามนี้มีน้ำมาก น้ำค่อนข้างไหลเชี่ยว  มีสีฝุ่นขุ่นพอควร ดังนั้นทำให้ไม่สามารถมองเห็นเกาะกลางแม่น้ำ หรือสะพานไม้ไผ่ได้เนื่องจากถูกน้ำซัดพัง เรือวิ่งไปได้สักพัก เห็นชาวบ้านเล่นน้ำอยู่ริมคลองประปราย ผ่านไปได้สักพักทิวทัศน์เริ่มไม่น่าสนใจ ผนวกกับความเหน็ดเหนื่อยในช่วงเช้า ทำให้หลายคนเริ่มหลับไหล  เวลาผ่านไปประมาณสองชั่วโมง เรือก็นำเรามาถึงจุดหมายแต่เป็นเวลาที่ท้องต้องการอาหารแล้ว พวกเราจึงแวะทานอาหารบริเวณร้านที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับถ้ำติ่ง เวลาที่เราไปถึงเป็นเวลาที่นักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นกลับกันหมดแล้ว พร้อมกับนำอาหารติดพุงไปด้วยเกือบหมดร้าน ทำให้เราต้องรออาหารเป็นเวลานานพอสมควร ดังนั้นบรรดาสาวๆรีบกุลีกุจอเข้าครัวแสดงฝีมือทำครัวกันยกใหญ่ ซึ่งได้บรรยากาศและ ความสนุกสนานไปอีกแบบ  รสชาดอาหารวันนี้อร่อยเป็นพิเศษ จะเป็นด้วยความหิวหรือเพราะฝีมือแม่ครัวกิติมศักดิ์ก็ไม่ทราบแน่  

                                        

                    บริเวณโดยรอบร้านอาหาร มีร้านขายของพื้นเมืองเล็กๆหลายร้าน เดินขึ้นไปอีกหน่อยจะมีวัดซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ มีความงดงามพอสมควรประดิษฐานอยู่ สี่โมงเย็นกว่าๆก็ถึงเวลาข้ามฝากไปชมถ้ำติ่ง ถ้ำติ่งเป็นถ้ำเล็กๆอยู่กลางน้ำโขง ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปเก่าแก่หลายขนาดจำนวนมากประดิษฐานอยู่  แต่ตามประวัติแล้วไม่มีใครทราบว่า ใครเป็นผู้นำมาไว้และทำไมถึงได้นำมาไว้  

 

                                                                        

 

 

                                                                                                                                         

หลวงพะบางวันที่สาม.....

 

Mail to :  Web Master